ที่มาและความสำคัญ

        คำว่าเครื่องเขินหมายถึง ภาชนะเครื่องมือของใช้ที่ผลิตขึ้นโดยชาวเชียงใหม่ ที่มีเชื้อสายสืบมาจากไทเขินแต่โบราณ คำนี้น่าจะบัญญัติขึ้นโดยคนไทยภาคกลางและข้าราชการจาส่วนกลางที่ขึ้นมาอยู่ในภาคเหนือ เมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้วเพราะว่าคำนี้มิได้ปรากฏอยู่ในภาษาพื้นถิ่นเชียงใหม่และชาวเชียงใหม่แต่เดิมก็มิได้มีศัพท์เรียกที่จำกัดความเฉพาะที่ใกล้เคียงที่สุดจะเรียกเป็นวลี ตัวฮักคัวหาง
        ไทเขินคือชนพื้นเมือง หรือคนไทที่อยู่ในลุ่มน้ำเขินในแคว้นเชียงตุงเป็นชนกลุ่มนึ่งในตระกูลไทยลื้อ ออกเสียงสำเนียงพื้นเมืองว่า ขืน ซึ้งแปลว่าย้อนขึ้น ขัดขืน หรือฝืนเพราะว่าแม่น้ำสายนี้ย้อนขึ้นทางเหนือก่อนที่จะรวมกับแม่น้ำโขง ปัจจุบันเชียงตุงอยู่ในรัฐฉานตะวันออกของพม่าเมื่อครั้งพญากาวิละแห่ง ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนของล้านนา ทำการฟื้นเมืองเชียงใหม่ขึ้นมาจาก การปกครองของพม่าในยุคต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการนำไพล่พลไปรบเพื่อเอาผู้คนพลเมืองที่พูดภาษาตระกูลไทด้วยกันจากรัฐฉานและสิบสองปันนามาชดเชยประชาการที่ล้มหายตายจากไปเนื่องด้วยสงครามกับพม่า ภาษาทางเหนือเรียกว่า เก็บผักใส่ซ้า เก็บขาใส่เมือง ชาวไทเขินผู้มีความสามารถทางหัตถกรรมเครื่องเขินจึงนำมาอยู่ในเขตเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่ครั้งกระนั้นเป็นต้นมา
        เครื่องเขินคือภาชนะเครื่องใช้ที่มีโครงเป็นเครื่องจักสานโดยหลักการเครื่องเขินส่วนใหญ่มีโครงเป็นไม่ไผ่สาน ชั้นแรกจะทำหน้าที่ยึดโครงสร้างให้เกิดความมั่นคง ชั้นต่อ ๆ ไปเป็นการตกแต่งพื้นผิวภาชนะให้เรียบ ชั้นสุดท้ายเป็นการตกแต่งให้สวยงามเช่น การเขียนลวดลาย การปิดทอง หรือการขูดผิวให้เป็นร่องลึก แล้วฝังรักสีให้เป็นลวดลายสวยงามถ้าเป็นของใช้ทั่ว ๆ ไปจะมีน้ำหนักเบานิยมใช้รักสีดำและสีแดงตกแต่ง ถ้าเป็นของใช้ในพิธีหรืองานตกแต่งเชิงศิลปะจะมีการใช้ทองคำเปลวมาประดับมากขึ้น บางครั้งมีการปั้นกดรักพิมพ์รักให้เป็นลวดลายเพื่อเพิ่มความงดงามให้แก่ภาชนะประเภทของเครื่องเขินที่เป็นที่รู้จักและเผยแพร่หลายได้แก่ เชี่ยนหมาก พาน ขันโอ ขันน้ำ ถาด และจากของที่ระลึก คุณสมบัติสำคัญของเครื่องเขินคืน มีน้ำหนักเบายืดหยุ่นได้บ้าง ไม่แตกหักเสียหายทันทีทันใด วัสดุที่ใช้ในการผลิตกาได้ง่ายโดยทั่วไปในท้องถิ่น เทคนิคประกอบและการตกแต่งไม่สลับซับซ้อนจนเกินไปอีกทั้งยังสนองตอบรสนิยมและหน้าที่ใช้สอยในชีวิตประจำวันของชาวเอเชียได้ดีเยี่ยม

No comments:

Post a Comment